Tag : สรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์

นิเวศในเมือง
read

อ่านไม่ออกก็รู้ความได้

ไม่กี่วันมานี้มีคนรุ่นใหม่ขอให้ฉันอธิบายความหมายของ “การรู้ภาษาสิ่งแวดล้อม” ในมุมมองของตัวเอง หลายคนคงจำได้ว่า eco-literacy หรือ environmental literacy เคยเป็นคำยอดฮิตในวงการสิ่งแวดล้อมเมื่อ 20-25 ปีก่อน และก็เหมือนกับคำหลายๆ คำที่ใช้จนเฝือ เบื่อ และเฟดหายไป ทั้งๆ ที่การปฎิบัติจริงยังไปกันไม่ถึงไหน ถ้ากูเกิ้ลดูก็จะได้นิยามประมาณว่า คือความเข้าใจในหลักการทำงานและความเชื่อมโยงของระบบนิเวศ และการกระทำที่ส่งผลกระทบ เพื่อให้เราสามารถตัดสินใจได้เหมาะสม แต่เมื่อ 20 กว่าปีก่อนฉันจำได้ว่าฉันสนุกกับคำศัพท์ ‘literacy’ และเมื่อถูกถาม ฉันก็จะขยายความมันตามประสาคนที่เติบโตมากับเทพนิยายและนิทานผจญภัยก่อนนอน ตอนนั้นฉันเพิ่งจะเริ่มพัฒนากระบวนการสำรวจธรรมชาติภาคประชาชน เรียกว่า “นักสืบสายน้ำ” ให้เด็กๆ และคนทั่วไปสามารถตรวจสอบสถานภาพและความเป็นไปของแม่น้ำลำธารได้เอง ดังนั้น ฉันก็จะบอกว่างานที่ทำคือการฝึกให้คนอ่านสภาพแวดล้อมได้เหมือนอ่านหนังสือ การทำความรู้จักสัตว์ชนิดต่างๆ ก็เปรียบเสมือนรู้จักตัวอักษรพยัญชนะ และพอรู้จักชีวิตมัน รู้จักนิสัย รู้ว่ามันชอบอยู่บ้านแบบไหน ชอบกินอะไร มีความสามารถอย่างไร ชอบคบกับใคร ทนอะไรได้แค่ไหน ก็เปรียบเสมือนเรารู้ไวยกรณ์ ผสมคำกันแล้วก็เริ่มอ่านออก รู้ความหมาย รู้เรื่องราวที่เกิดขึ้น ณ ที่นั้น เบื้องต้นก็อาจแค่รู้ว่าน้ำสะอาดสกปรกแค่ไหน โดยตัดสินจากชนิดสัตว์น้ำที่พบ เทียบเท่ากับอ่านนิทานเต่ากับกระต่ายง่ายๆ แต่ยิ่งฝึกสังเกต คลังคำและไวยกรณ์ก็ยิ่งแตกฉาน ยิ่งอ่านได้มาก […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

ความภูมิใจใน “เรา”

กาลครั้งหนึ่งไม่กี่ปีมานี้ เมื่อพิธีกรเปิดคำถามจากฟลอร์ในงานเสวนา วัยรุ่นคนหนึ่งก็ยกมือขึ้นถามด้วยความสุภาพแต่สงสัยจริงจังว่า ทำไมคุณวิทยากร x จึงภูมิใจในประวัติศาสตร์วัฒนธรรมดีงามของบรรพบุรุษ หวงแหนมากมาย แม้ว่าตัวเองไม่ได้เป็นผู้สร้างสรรค์สิ่งต่างๆ เหล่านั้นเลย บางคนฟังแล้วอาจคันอวัยวะส่วนล่าง ช่างอหังการไร้สำนึกถึงรากเหง้าอะไรเช่นนั้น แต่ฉันทึ่งกับคำถามนี้มาก มันแสดงถึงสติปัญญาที่ฉันไม่เคยมีในวัยเดียวกัน มันเป็นปรากฎการณ์ที่เราทุกคนน่าจะถามตัวเอง เพราะเชื่อว่าทุกคนน่าจะเคยมีอาการเช่นนี้ อย่างน้อยก็ในบริบทต่างๆ กันไป ลองพิจารณาดู ทำไมเราจึงมีความภูมิใจกับกลุ่มหมู่อะไรที่เราถือว่าเป็น “พวกเรา” ปลื้มเปรมยกย่องกับความสำเร็จของใครก็ตามที่โยงใยกับพวกของเรา ภูมิใจเสมือนเป็นความสำเร็จของตัวเราเอง ทั้งๆ ที่เราไม่ได้ลงขันทำอะไรให้มันเกิดขึ้นมา อย่างต่ำเลยก็เป็นกับทีมฟุตบอล ไม่ได้รู้จักมักจี่เขาเลย แต่เขาชนะแล้วเราฟินเว่อร์ บางคนกับบรรพบุรุษ ปู่ทวดฉันเคยสร้างโน่นนี่ เป็นนั่นนู่น ภูมิใจมาก ใครอย่าแตะอย่าว่า ทั้งๆ ที่เราก็เกิดไม่ทัน ไม่เคยรู้จักปู่ทวดคนเป็นๆ บางคนกับสถาบันที่เคยเรียนมา คนจากโรงเรียนฉันเก่ง ฉันเลยเก่งไปด้วย บางคนกับคนร่วมภูมิลำเนา บางคนกับคนร่วมชาติ บางคนกับเชื้อชาติพันธุกรรม แค่มีเลือดไทยผสมแต่เป็นพลเมืองอเมริกา คนไทยก็ภูมิใจมาก บางคนกับชีวิตร่วมสายพันธุ์ มองว่ามนุษย์ช่างฉลาดเก่งกาจกว่าสัตว์อื่น ทั้งๆ ที่ความเก่งทั้งหลายของมนุษย์ที่หยิบยกมาภาคภูมิใจกัน ล้วนเป็นสิ่งที่เราในฐานะปัจเจกทำเองไม่เป็น ไม่ได้มีความสามารถของมนุษย์ที่เราชื่นชม ถามจริง เรากี่คนสร้างรถยนต์ได้เอง สร้างคอมพิวเตอร์ได้เอง สักกี่คนประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรมเปลี่ยนโลก ส่วนใหญ่เราเป็นผู้บริโภค แถมไม่รู้ด้วยซ้ำว่าสัตว์ชนิดอื่นๆ […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

ทราบแล้วเปลี่ยน! ดอยอินทนนท์

ต้นเดือนกุมภาพันธ์ทุกปี นักดูนกและนักนิยมธรรมชาติแขนงต่างๆ มีนัดกันที่ดอยอินทนนท์ในงาน Inthanond Census จัดโดยชมรมอนุรักษ์นกและธรรมชาติล้านนา ด้วยพลังความร่วมมือจากจิตอาสาที่มีความรู้และทักษะจำนวนหลักร้อยคนทั่วประเทศ จุดประสงค์คือร่วมลงแขกแยกย้ายกันสำรวจข้อมูลนกและความหลากหลายทางชีวภาพด้านอื่นๆ ที่ถนัด เพื่อติดตามเฝ้าระวังตรวจสุขภาพธรรมชาติดอยอินทนนท์ ภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย แหล่งระบบนิเวศไม่ธรรมดา บ้านของพืชและสัตว์หายาก หลายชนิดเป็นพันธุ์เฉพาะถิ่น ไม่พบที่อื่นใดในโลก ปีนี้ ทีมนักสืบสายน้ำจากมูลนิธิโลกสีเขียวได้ขึ้นไปสำรวจสุขภาพของสายน้ำในย่านบ้านขุนวาง บ้านขุนวางตั้งอยู่ใกล้ๆ กับที่ทำการอุทยานฯ ในระดับความสูงราว 1,400 เมตรเหนือน้ำทะเล เดิมเป็นไร่ฝิ่นชาวม้ง แต่เมื่อปี 2525 ได้ก่อตั้งศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวางขึ้นมาตามพระราชดำริ เป็นสถานีทดลองและขยายพันธุ์พืชเกษตรบนที่สูง ส่งเสริมพืชเศรษฐกิจแทนฝิ่น ตั้งแต่พืชผัก ไม้ดอก ไม้ผลเมืองหนาว จนถึงปัจจุบันมีการเลี้ยงปลาเมืองหนาวราคาดีอย่างปลาทร้าวท์และปลาสเตอร์เจียนตัวผลิตไข่ปลาคาเวียร์ โครงการประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เมื่อ 36 ปีก่อน แต่ถึงวันนี้แล้ว เราควรจะดูด้วยไหมว่ากิจกรรมเหล่านั้นส่งผลกระทบอะไรต่อธรรมชาติแวดล้อม เริ่มด้วยสำรวจคุณภาพน้ำ เราลงสำรวจทั้งหมดสามจุด ได้แก่ 1) บริเวณใต้น้ำตกสิริภูมิ ก่อนไหลลงสู่พื้นที่แปลงเกษตร จุดนี้จะใช้เป็นจุดอ้างอิงของคุณภาพน้ำตามธรรมชาติในบริเวณนั้น 2) บริเวณใต้น้ำที่ไหลผ่านแปลงเพาะปลูก ก่อนจะไหลลงสู่โซนบ่อเลี้ยงปลาทร้าวท์ และ 3) บริเวณท้ายน้ำใต้บ่อเลี้ยงปลาทร้าวท์ ผลสำรวจจุดที่ 2 และ 3 เปรียบเทียบกับจุดเหนือน้ำจะแสดงถึงผลกระทบจากกิจกรรมนั้น […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

From Russia with Love

จั่วหัวชื่อบทความนี้ คงมีแต่คนยุคสงครามเย็นจะเข้าใจ มันเป็นชื่อหนังเจมส์บอนด์ยุค ฌอน คอนเนอรี่ คนรุ่นแฟนฌอน คอนเนอรี่มีความทรงจำที่ไม่ค่อยจะดีนักต่อรัสเซีย จำได้ว่าครั้งแรกที่เดินทางไปเยี่ยมญาติที่อังกฤษ แม่พาขึ้นเรือบินแอโรฟลอตของรัสเซีย เพราะมันราคาถูกที่สุดในยุค 70s แอร์ดุมาก เสริฟอาหารตี 2 ใช้ถาดที่ถือมาเคาะหัวผู้โดยสารปลุกให้ตื่นขึ้นมากิน โขกถาดลงตรงหน้า สั่งคำเดียวว่า “Eat!” เราต้องรอ 24 ชั่วโมงเพื่อเปลี่ยนเครื่องที่รัสเซีย เขาบริการพาเราไปกักไว้ในโรงแรม ห้ามออกจากห้องนอน มีคนเฝ้าดุๆ หน้าลิฟท์แต่ละชั้น คอยตะโกน “Back!” ถ้าเราโผล่หัวออกมาจากห้อง ถึงเวลาอาหารจึงมาเคาะประตู “Eat!” จัดผู้โดยสารเดินเรียงแถวไปห้องอาหารในชั้นนั้น เสริฟซุปจืดๆ พร้อมขนมปังแข็งกัดไม่เข้า กินเสร็จก็เดินเรียงแถวกลับเข้าห้องนอนจนถึงเวลาบิน ความเกร็งต่ออำนาจหลังม่านเหล็กและขนมปังแข็งมันฝังใจ หลายสิบปีต่อมา เมื่อคิดจะไปเยือนรัสเซียต้นเดือนธันวากลางฤดูหนาวเหน็บ ให้มันรู้ไปว่านโบเลียนแพ้หิมะรัสเซียอย่างไร เราจึงออกจะเกร็ง แม้ว่าปัจจุบันนักท่องเที่ยวไทยจะเข้ารัสเซียได้โดยไม่ต้องมีวีซ่า แต่ชาวพันทิปก็เตือนกันไว้ว่าอย่าได้วางใจ จงเตรียมเอกสารสัญญาข้อตกลงระหว่างประเทศภาษารัสเซียไปด้วย พร้อมกับใบโน่นนี่จากโรงแรมที่พัก แต่เมื่อไปถึงจริงๆ แล้ว อคติดั้งเดิมทั้งหมดก็ลบเลือนไป รัสเซียในวันนี้เปลี่ยนไปมาก อาหารอร่อยและถูก โดยเฉพาะซุปบ้านๆ (ซึ่งไม่เข้าใจว่าทำไมโรงแรมของแอโรฟลอตไม่ให้เรากิน) เบียร์ท้องถิ่นและไวน์จากจอร์เจียดีงามสามภพ พิพิธภัณฑ์เลิศระดับโลก ผู้คนอัธยาศัยดี โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ ยินดีช่วยเหลือบริการ […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

ประชาชนนั้นโดดเดี่ยว

เมื่อวันพุธ 29 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ดิฉันได้ไปร่วมออกรายการสถานีประชาชนของไทยพีบีเอส กับเครือข่ายชุมชนซอยย่านพญาไทผู้ประสบปัญหาผลกระทบจากคอนโดจำนวนมากกว่า 20 หลัง โดยมีตัวแทนจากหน่วยงานรัฐร่วมรายการ ปัญหาที่ชุมชนเขตพญาไทเจอนับเป็นปัญหาคลาสสิคที่ทุกชุมชนซอยเจอ และออกจะเข้มข้นเป็นพิเศษเพราะซอยขนาดเล็กเชื่อมต่อกันเยอะ จำนวนคอนโดหนาแน่น กระทบบ้านเดิมหลายร้อยหลังคาเรือน ตั้งแต่บ้านพังถึงขั้นต้องรื้อทิ้ง ไหนจะรถติดวินาศสันตะโร น้ำท่วมผิดปกติเมื่อคอนโดสูงพากันระบายน้ำออกมา ไหนจะความร้อนระอุที่เพิ่มขึ้นจากมวลคอนกรีต ฯลฯ หลายคอนโดขนาดใหญ่โตเทียบกับขนาดถนนเล็กแคบ จนสงสัยว่าทำไมจึงอนุญาตให้สร้างได้ มันเป็นปัญหาทุกข์ร้อนที่เกิดขึ้นกลางกรุงทั่วไปหมด สมควรหยิบยกมาเป็นวาระปัญหาแห่งเมือง ทางชุมชนพญาไท ภายใต้นาม “กลุ่มอนุรักษ์พญาไท” จึงได้ทำเรื่องร้องเรียนไปยังผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อตรวจสอบปรากฎการณ์นี้อย่างจริงจัง ดิฉันไปร่วมรายการในฐานะตัวแทนชุมชนสุขุมวิท 28-30 ผู้รับผลกระทบจากคอนโดเช่นกัน ทั้งย่านพญาไทและย่านสุขุมวิทอยู่ในโซนผังเมืองสีน้ำตาล คือโซนที่กำหนดให้เป็นเขตอยู่อาศัยหนาแน่น ดิฉันก็บอกว่าเราเข้าใจเจตนาของโซนสีน้ำตาล ว่าต้องการพัฒนาให้เป็นเมืองกระชับ (compact city) ใช้พื้นที่และทรัพยากรจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ในความกระชับจะต้องไม่อึดอัดอุดตัน โครงสร้างเมืองและสาธารณูปโภครองรับได้ ทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ ทั้งชาวบ้านผู้อยู่อาศัยดั้งเดิมและชาวคอนโดผู้มาใหม่ นั้นหมายความว่าอาคารใหญ่และคอนโดทั้งหลายต้องไม่โยนปัญหาออกมาข้างนอก แต่ความเป็นจริงกลับไม่เป็นเช่นนั้นเลย เราพยายามพึ่งพากฎหมาย แต่ก็พบข้อจำกัดหลายประการ เป็นต้นว่า นิยามกฎหมายไม่ชัดเจน กฎหมายระบุความกว้างของ “เขตทาง” แทนพื้นผิวจราจร ซอยที่มีพื้นถนนแค่สองเลนรวม 4.5 เมตร แต่มีพื้นที่สีเขียวปลูกต้นไม้ใหญ่ริมทางอย่างซอยบ้านเรา ก็ถูกตีความว่า “เขตทาง” […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

คอนโดเลี่ยงบาลีกันอย่างไร?

คนกรุงเทพที่อาศัยอยู่ในซอยเล็กย่านกลางเมืองจำนวนไม่น้อย ต้องประสบปัญหาจากการก่อสร้างคอนโดขนาดใหญ่ในซอยแคบๆ เคยสงสัยไหมว่าทำไมจึงสร้างกันได้ ทั้งๆ ที่เห็นอยู่ว่าพื้นที่มันรองรับจำนวนคนจำนวนรถขนาดนั้นไม่ไหว? กฎหมายไม่ดูแลคนบ้านเดี่ยวที่อาศัยอยู่มาชั่วนานตาปีกันบ้างเลยเชียวหรือ? มาทำความรู้จักกฎหมายและวิธีบิดเบือนเลี่ยงบาลีของคอนโดหลายๆ โครงการกันดีกว่า สมมุตินะคะ..สมมุติ สมมุติว่ามีซอยตันถนนแค่สองเลนพอรถแล่นสวนกันอยู่ในย่านกลางเมืองใกล้ศูนย์การค้าใหญ่อยู่สองซอยขนานกัน ขอเรียกว่าซอย 1 และซอย 2 ทั้งสองซอยมีคอนโดสร้างเสร็จแล้วและกำลังสร้างอยู่หลายหลัง ทั้งขนาดใหญ่ 30 ชั้นหน้าปากซอยติดถนนใหญ่ และขนาดกลาง 20 ชั้นอยู่กลางซอย สร้างปัญหาการจราจรคับคั่งในซอยอยู่แล้ว ขนาดที่ชั่วโมงเร่งด่วนรถจะติดกันในซอยยาวเกือบครึ่งซอย นานนับ 20-30 นาที แล้วก็มีโครงการคอนโดขนาดใหญ่จะมาขึ้นอีกหลังหนึ่งกลางซอย โครงการนี้กวาดซื้อที่ดินระหว่างซอย 1 และซอย 2 ไปกว่าสองไร่ ตัดต้นไม้ใหญ่อายุร่วม 40-50 ปีที่ขึ้นคลุมเต็มพื้นที่ออกไปหมดทุกต้นก่อนโอนที่ดิน เวลาจะทำ EIA หรือรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ก็ไม่จำเป็นต้องเทียบกับสภาพแวดล้อมที่มีต้นไม้ใหญ่ เพราะที่ที่เขาได้มามันเป็นที่โล่งเปล่า แค่นี้ก็ไม่ต้องบรรเทาผลกระทบจากการตัดต้นไม้แล้ว คอนโดใหม่นี้มีแผนจะสร้างถึง 30 ชั้น สูงราว 120 เมตร มีจำนวนห้องกว่า 250 ห้องและที่จอดรถเกือบ 200 คัน แม้ไม่ได้ขับออกมาพร้อมกัน สามัญสำนึกของชาวกรุงกลางเมืองย่านห้างใหญ่ก็จินตนาการได้ไม่ยากว่ารถในซอยจะติดแค่ไหน คนท้ายซอยคงไม่ต้องออกจากบ้าน […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

พลังคำเพื่อโลก

ถามจริงๆ เมื่อได้ยินคำว่า “สิ่งแวดล้อม” คุณนึกถึงอะไร? ถามนักเรียนจะได้คำตอบว่าคือสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตรอบตัวเรา ถามคนทั่วไป แว็บแรกก็นึกถึงอากาศ น้ำ อุณหภูมิ การจัดการของเสียและขยะ ทั้งสองคำตอบไม่ทำให้เรารู้สึกตื่นเต้น กระตุ้นจินตนาการ มันน่าเบื่อ เช่นเดียวกับคำว่าความยั่งยืน ในหนังสือ How to Raise a Wild Child สก็อต แซมสันตั้งข้อสังเกตว่า เมื่อเราตกหลุมรักกับคนคนหนึ่ง ขอแต่งงานด้วย เราไม่คิดว่าเราจะมีชีวิตที่แค่ยั่งยืนไปด้วยกัน ไม่ได้จะแค่ประคองกันไป จืดๆ ชืดๆ รอดตายด้วยความรอบคอบเก็บเงินออม ปลอดภัยอย่างซังกะตาย แต่เราเต็มไปด้วยปิติและความหวัง หนึ่งบวกหนึ่งไม่ใช่แค่สอง เราจะงอกงามเบิกบานไปด้วยกัน แล้วทำไมเมื่อเรารักธรรมชาติเต็มหัวใจ ไม่ได้เห็นมันเป็นแค่ “สิ่ง” และ “ของ” แต่เรากลับบอกคนอื่นว่า “เราต้องจัดการสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน” ไร้ซึ่งแรงบันดาลใจใดๆ เราต้องหาคำที่ให้ความหวัง เร้าใจกับความเป็นไปได้ในอนาคต งานวิจัยเล็กๆ หลายชิ้นกำลังชี้ให้เห็นว่า เด็กรุ่นใหม่มีอาการจิตตกกับภาพอนาคตโลกเสื่อม จนไม่อยากจะทำอะไร นักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการถูกฝึกให้ใช้ภาษาในมุมมองภววิสัย (objective) มีความหมายใช้งานตามวัตถุประสงค์ ไม่เจือปนอารมณ์หรือมุมมองส่วนตัว เพื่อลดอคติ แต่เมื่อนำมาใช้ในการสื่อสารทั่วไปนอกแวดวงวิชาการ มันขาดหัวใจ แต่มันไม่ได้แปลว่านักวิทยาศาสตร์ไม่มีหัวใจ นักธรรมชาติวิทยาที่ทำงานจริงจังล้วนรักและพิศวงในธรรมชาติและชีวิตที่เขาศึกษา […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

ทำไมมนุษย์เป็นสัตว์แก่วัยทอง?

ความแปลกอย่างหนึ่งของมนุษย์ คือเราเป็นสัตว์ไม่กี่ชนิดที่มีอายุยืนยาวตามธรรมชาติได้นานหลังวัยเจริญพันธุ์ ไข่ของมนุษย์ผู้หญิงจะถูกปล่อยทิ้งหมดไปเมื่ออายุราว 40-50 ปี ประจำเดือน (menstruation) หมดก็เข้าสู่วัยทอง แต่พวกนางก็ยังมีเรี่ยวแรงไม่แก่ตายโดยเร็ว แม้ในยุคที่การแพทย์ยังไม่ล้ำจนสามารถยืดอายุมนุษย์ได้ยาวนาน ผู้หญิงจำนวนไม่น้อยก็ยังอายุยืนหลังวัยทองไปได้อีกหลายสิบปี เป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นแม้ในหมู่ชนเผ่าล่าสัตว์เก็บของป่า จึงต้องสรุปว่ามันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ ต่างจากสัตว์ส่วนใหญ่ หลายชนิดมีชีวิตเพียงเพื่อผสมพันธุ์วางไข่ออกลูกครั้งเดียวแล้วตาย อีกหลายชนิดออกลูกได้หลายครั้งหลายปี แต่เมื่อหมดความสามารถในการสืบพันธุ์แล้วก็ตาย ถ้าไม่นับสัตว์ที่คนเอามาเลี้ยงดูแลในสถานเพาะเลี้ยงต่างๆ สัตว์ป่าในธรรมชาติที่มีวัยทองเท่าที่เรารู้มีไม่มากนัก อาทิวาฬเพชฌฆาตประเภทไม่อพยพ วาฬนำร่องครีบสั้นหรือโลมาหัวกลม เพลี้ยอ่อนสังคมที่สร้างหูดบนพืช (gall-forming social aphid) เป็นต้น มันเป็นปรากฎการณ์ที่นักวิทยาศาสตร์ยังงุนงง มีทฤษฎีถกเถียงกันมากมายถึงเหตุผลการวิวัฒนาการคุณลักษณะนี้ หลายทฤษฎีฟังดูเข้าท่า แต่พอตรวจสอบข้อมูลก็ล้มพับไป จึงยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน แต่มีข้อสังเกตน่าพิจารณา สัตว์เหล่านี้เป็นสัตว์สังคมซึ่งตัวอ่อนต้องได้รับการดูแลเป็นเวลานานเพื่ออยู่รอด วาฬเพชฌฆาตเด็กต้องการแม่ดูแลยาวนานยิ่งกว่ามนุษย์อีก มันมีสิ่งที่ต้องเรียนรู้มากมายกว่าจะหากิน หลีกเลี่ยงภัยเสี่ยงในชีวิตได้ แม่และยายที่มีประสบการณ์มีความสำคัญมากๆ โดยเฉพาะในช่วงยากแร้น เพราะต้องอาศัยความรู้ทางนิเวศท้องถิ่นเป็นอย่างดีที่จะอยู่รอดผ่านพ้นภาวะลำบากไปได้  ไหนยังต้องเรียนรู้วิธีหลีกเลี่ยงความขัดแย้งต่างๆ ในสังคมทะเลอีก มนุษย์ก็เช่นกัน ในสังคมโบราณจวบจนไม่นานมานี้ หญิงวัยทองยันนางเฒ่ามีบทบาทสำคัญในครอบครัวและชุมชน เป็นผู้ช่วยเลี้ยงดูเด็กรุ่นใหม่ แบ่งเบาภาระให้แม่สาวๆ ออกไปทำมาหากิน นางเฒ่าหลายคนยังได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้มีความรู้และปัญญาจากประสบการณ์ที่สะสมมานานปี คนในสังคมได้อาศัยปรึกษาหารือ แต่ความต้องการผู้มีประสบการณ์ช่วยเลี้ยงดูเด็กและแก้ปัญหาให้ชุมชนก็ไม่ใช่เหตุผลเด็ดที่จะฟันธงสำหรับอธิบายปรากฎการณ์วัยทอง สัตว์อื่นๆ อีกหลายชนิดก็อยู่กันเป็นสังคมและช่วยกันเลี้ยงเด็ก ยกตัวอย่างช้าง ช้างเป็นสัตว์อายุยืนยาวเครือๆ มนุษย์ […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

สัมผัสและความทรงจำ สวน 100 ปี

เมื่อปลายเดือนที่เเล้วกลุ่มอนุรักษ์ต้นไม้ใหญ่ Big Trees จัดฉายหนังญี่ปุ่นเรื่อง Parks ที่สกาล่า เป็นหนังที่สร้างขึ้นมาเพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปีสวนสาธารณะอิโนะคาชิระแห่งกรุงโตเกียว สวนนี้กินพื้นที่กว้างขวางเกือบสี่แสนตารางเมตร คิดเป็น 240 ไร่ ถ้าเทียบกับสวนลุมฯ (360 ไร่) ก็เล็กกว่าบ้าง เดิมเป็นที่ดินของจักรพรรดิ มอบให้เป็นสมบัติส่วนรวมแก่โตเกียวเมื่อปี ค.ศ.1913 และเปิดออกสู่สาธารณะในปี 1917 ใจกลางสวนเป็นสระน้ำใหญ่รียาว ไหลลงสู่แม่น้ำคันดะ มีสะพานไม้ข้ามน้ำอยู่ตรงกลาง รอบริมน้ำปลูกซากุระไว้มากมายจนเมื่อมันออกดอกในต้นฤดูใบไม้ผลิ กลีบซากุระจะร่วงหล่นลอยเต็มผิวน้ำ ระบายสระเป็นสีชมพู แล้วยังไม้ใหญ่อื่นๆ อีกกว่าหมื่นต้นให้ความเขียวชอุ่มสดชื่นในหน้าร้อนผลัดใบเป็นสีต่างๆ ในฤดูใบไม้ร่วงถึงฤดูหนาวสวนกลายเป็นสีขาวและนกน้ำมากมายอพยพมาว่ายหากินกันเต็มสระ แต่หนังไม่ได้โฟกัสที่ธรรมชาติความงามของสวน หรือการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล หรือแม้แต่ความสัมพันธ์โดยตรงระหว่างคนเมืองกับสวน แม้ว่ามันจะเปิดปิดฉากด้วยการขี่จักรยานผ่านดงซากุระบานก็ตาม ภาพยนตร์เรื่อง Parks ฉลองสวนอิโนะคาชิระได้แยบยลกว่านั้น และน่าจะสะท้อนใจคนรุ่นใหม่กลุ่มใหญ่ได้ดี มันเป็นเรื่องราวความสัมพันธ์ของมนุษย์สองยุคสมัยที่อาศัยในละแวกนี้และผ่านเข้ามาในสวนนี้ ในอดีตทศวรรษ 60 และในปัจจุบัน 2017 เพื่อคลายปมที่ติดขัดในชีวิตและคลี่พลังสร้างสรรค์ โดยที่ผู้คนทั้งสองรุ่นไม่ได้รู้จักกันตัวเป็นๆ กระนั้น สวนก็ไม่ได้เป็นเพียงฉากหลังให้ตัวละคร แต่ทุกชีวิตถักทอโยงใยกันเป็นเนื้อผ้าผืนเดียว เป็นลวดลายในชีวิตที่ร่ายรำและทิ้งความทรงจำไว้ ณ สถานที่แห่งนี้ ด้วยความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อถีบเรือหงส์ในสระ เมื่อเดินข้ามสะพาน เมื่อได้ยินคนนั่งร้องเพลง […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

ป่าทรงพลังของเทพชิชิ

หลายคนชอบเดินทางไปทำบุญตามวัดต่างๆ ไปแล้วอิ่มเอิบใจ ฉันก็เช่นเดียวกัน แต่วัดของฉันมักเป็นสถานที่ธรรมชาติ เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ฉันโชคดีได้ไปสักการะและอาบป่าโบราณแห่งเกาะยากูชิมา ทางตอนใต้ประเทศญี่ปุ่น ใครเป็นแฟนคลับการ์ตูนสตูดิโอจิบลี คงทราบดีว่าป่ายากูชิมาเป็นแหล่งบันดาลใจของอนิเมชั่นธีมอนุรักษ์ธรรมชาติ “เจ้าหญิงโมโนโนเกะ” ของมายาซากิ หนังมันเก่ามากแล้วจึงขอสปอยล์ มันเป็นเรื่องการเดินทางของเจ้าชายอาชิทากะ แห่งชนเผ่าอีมิชิในญี่ปุ่นยุคกลาง เพื่อล้างคำสาปจากเทพอสูรหมูป่าทาทาริ ซึ่งออกจากป่ามาอาละวาด และอาชิทากะต้องฆ่ามันเพื่อปกป้องหมู่บ้าน แต่โดนคำสาปที่แขนขวาระหว่างการต่อสู้ นางเฒ่าในหมู่บ้านหยั่งญานทำนายบอกเขาว่าคำสาปจะค่อยๆ ลุกลามไปทั่วตัวจนเขาตายอย่างทรมาน ทางแก้เดียวคือเขาจะต้องเดินทางไปหาเทพชิชิในทิศตะวันตกเพื่อขอให้ล้างคำสาป โดยเขาจะต้องมองทุกสิ่งด้วยตาที่เป็นธรรม อาชิทากะเดินทางไปถึงเมืองโลหะ เป็นนิคมหลอมตีเหล็กผลิตปืน มีนางเอโบชิเป็นผู้ดูแลคุ้มครองหมู่คนที่สังคมรังเกียจ ทั้งหญิงงามเมืองและคนไข้โรคเรื้อน เอโบชิมุ่งตัดป่าเพื่อขุดดินเอาแร่ และเป็นคนยิงหมูป่านาโกะ พลังความโกรธเกลียดทำให้มันกลายร่างเป็นอสูรทาทาริมุ่งทำร้ายมนุษย์ ป่าแห่งนั้นเป็นแหล่งสถิตของเทพชิชิ ผู้ให้ทั้งชีวิตและความตาย เมื่อจุติลงมาบนโลก ณ สระน้ำศักดิ์สิทธิ์กลางป่า จะกลายร่างเป็นกวางตีนไดโนเสาร์หน้าลิงแมนดารินหางหมาจิ้งจอก มีครอบครัวหมาป่าที่เลี้ยงดูเด็กหญิงกำพร้าชื่อซัน คอยปกป้องพิทักษ์ป่าวิเศษที่เต็มไปด้วยพรายน้อยโคดามะตัวเล็กๆ สีขาว ซันต้องการฆ่าเอโบชิ ฝูงหมูป่าต้องการขจัดเผ่าพันธุ์มนุษย์ ฝูงลิงต้องการกินเนื้อมนุษย์เพื่อได้พลังอำนาจเช่นคน  เอโบชิต้องการเด็ดหัวเทพชิชิเเล้วส่งมอบให้จักรพรรดิ์ ส่วนอาชิทากะพยายามหยุดยั้งความโกรธเกลียดของทุกฝ่าย ให้หาทางอยู่ร่วมกันอย่างสันติ เขาต้องต่อสู้กับความโกรธแม้แต่จากแขนขวาต้องคำสาปของเขาเอง เมื่อเอโบชิเด็ดหัวเทพชิชิได้สำเร็จ พลังความเสื่อมก็ระเบิดออก ไหลบ่าออกทำลายทุกชีวิตรวมทั้งพรายน้อยโคดามะ ในขณะที่เทพชิชิพยายามหาหัวของตัวเอง อาชิทากะกับซันและหมาป่าก็ช่วยกันตามเอาหัวเทพชิชิมาคืนได้สำเร็จในเวลารุ่งสาง เทพชิชิสลายตัวไปแต่พืชพันธุ์ฟื้นตัวขึ้นมาทุกหนแห่ง มิยาซากิเริ่มมีไอเดียพล็อตเรื่องแนวการต่อกรระหว่างโลกธรรมชาติกับโลกอุตสาหกรรมมนุษย์มาตั้งแต่ยุค 70 แต่มาได้แรงบันดาลใจพัฒนาอนิเมชั่นจากป่ายากูชิมา เมื่อเขาเดินทางมาที่เกาะนี้ในปี […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

เอกลักษณ์ความเป็นมนุษย์

ได้ดูเรื่อง Ghost in the Shell ที่เอามังงะญี่ปุ่นมาทำเป็นหนัง นางเอกเป็นมนุษย์ถูกผ่าตัดทดลอง มีร่างเป็นหุ่นยนต์ไฮเทค แต่จิตวิญญานเธอยังอยู่ในนั้น เธอ–เมเจอร์มิรา–ต้องปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย แต่ก็อึดอัดสับสนกับอัตลักษณ์ของตัวเอง หมอที่ผ่าตัดเธอจึงบอกเธอด้วยความเมตตาว่า “เมื่อเรายอมรับความเป็นเอกลักษณ์ของเราได้ เราจะพบความสงบในจิตใจ” เอกลักษณ์ไม่ได้แปลว่าดีกว่า พิเศษกว่าผู้อื่น หรือห่วยกว่า ด้อยกว่าผู้อื่น มันหมายถึงลักษณะเฉพาะไม่เหมือนใคร ที่เรารับรู้ ยอมรับ โอเคกับมัน และรู้จักใช้มัน ในหน่วยของปัจเจกเราแต่ละคนมีเอกลักษณ์ของตัวเอง ถอยออกมาในหน่วยใหญ่ขึ้น ชีวิตแต่ละสายพันธุ์ก็มีเอกลักษณ์ร่วมของมัน แตกต่างจากสายพันธุ์ร่วมโลกอื่นๆ แล้วอะไรที่ทำให้มนุษย์ต่างไปจากสัตว์อื่นๆ สมัยที่เป็นนักศึกษาโบราณคดีนานนมเนในยุค 80 เราต้องว่ายวนอยู่กับคำถามนี้ ในทางกายภาพสรีระ ตอบไม่ยากนัก เห็นกันอยู่ชัดๆ ว่าเราเป็นลิงขนอ่อนบางจนแลเหมือนไม่มีขน เคลื่อนที่ด้วยสองขา ปลดปล่อยแขนและมือให้เป็นอิสระ มีนิ้วโป้งที่ประกบกับนิ้วอื่นๆ ได้ทุกนิ้ว ทำให้เราจับโน่นนี่ได้ถนัด ประดิษฐ์เครื่องมือต่างๆ ได้ดี สุดแท้แต่สมองใหญ่แสนฉลาดจะคิดค้น เราภูมิใจกับสมองและมือของเรามาก จนเกิดการตีความเอกลักษณ์ของมนุษย์ในแง่มุมว่าเหนือกว่าสัตว์อื่นๆ เช่น ตั้งสมญานามมนุษย์ว่า “มนุษย์ผู้สร้างเครื่องมือ” “มนุษย์ผู้พูดภาษา” หรือมนุษย์ผู้ชาญฉลาดอะไรทำนองนี้ และมีทฤษฎีถกเถียงกันมากมายถึงเหตุที่มาของวิวัฒนาการสมองใหญ่เดินสองขา ซึ่งมักจะได้รับอิทธิพลจากกระแสความคิดทางสังคมการเมืองในแต่ละยุค จากยุคชายเป็นใหญ่ เชื่อว่าเป็นแรงขับเคลื่อนจากการล่าสัตว์ของผู้ชาย ถึงยุคสิทธิสตรีเถียงว่าเป็นการเก็บของป่าของผู้หญิงต่างหาก […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

สะพานที่ซ่อมไม่ได้

ใครๆ ก็รู้ว่ากรุงเทพต้องการทางเลือกในการสัญจรเพิ่มขึ้น ทั้งระบบราง ระบบรถเมล์ และระบบเรือ มีโครงข่ายเส้นทางเดินและปั่นจักรยานเสริมเชื่อมโยงกับระบบขนส่งมวลชน และโครงข่ายเส้นทางจักรยานที่ทุกคนเห็นพ้องต้องกันว่าเวิร์คสุด ได้แก่ เส้นทางเลียบโครงข่ายระบบคลอง

Read More
นิเวศในเมือง
read

ต้นไม้ในซอยเป็นของชุมชน

อาทิตย์ที่แล้วเป็นอาทิตย์ของการปกป้องต้นไม้ในซอย วันเดียวกับที่มีข่าวลุงอู๊ดปีนขึ้นไปนั่งบนยอดต้นไม้ใหญ่ในซอย ประท้วงไม่ให้กทม.ตัด หลังจากตัดไปแล้วสองต้นในวันที่ลุงอู๊ดไม่อยู่บ้าน เพื่อ “ปรับปรุง” ซอย ซอยเราก็เจอศึกเดียวกัน จริงๆ ต้องบอกว่าเป็นศึกคุกคามต้นไม้ในซอยเราภาค 2 ภาคแรกเกิดขึ้นเมื่อสิบปีก่อน ตอนนั้น กทม.มีแผนจะเข้ามาตัดต้นไม้ทั้งหมดในซอย เพื่อ “วางท่อระบายน้ำใหม่และปรับปรุงซอยให้สวยงาม” ตามที่ได้จัดการกับซอยอื่นๆ ในละแวกนั้น หลายซอยที่เคยมีคูน้ำและจามจุรีขนาดใหญ่เรียงรายร่มรื่น ก็แปรเปลี่ยนไปเป็น ถนนปูนร้อนๆ ขยายกว้างขึ้นติดแนวรั้วบ้าน โดยปลูกแนวไม้พุ่มเตี้ยๆ เป็นระเบียบเรียบร้อย ทดแทนพอให้สีเขียว แต่ไร้ร่มเงา แต่ซอยเราน้ำไม่ท่วม และหากจะปรับปรุงระบบท่อระบายน้ำใหม่ ก็ไม่เห็นจำเป็นต้องทำตรงแนวต้นไม้ ท่อระบายใต้ดินออกแบบให้อยู่ตรงกลางถนนก็ได้ บังเอิญบ้านในซอยรู้จักกันหมด หลายบ้านเป็นญาติกัน เมื่อกทม.จะเข้ามาตัดต้นไม้ที่ทุกบ้านต่างปลูกกันไว้คนละต้นสองต้นมาเนิ่นนานหน้าบ้านตัวเอง ชาวซอยก็โทรศัพท์แจ้งข่าวกัน และพากันเดินออกมาล้อมคุยกับเจ้าหน้าที่รัฐ ขอไม่ให้ตัด แต่กทม.อ้างว่าได้เซ็นสัญญาจัดจ้างโครงการไปแล้ว ต้องดำเนินการ เราจึงลุกขึ้นบวชต้นไม้ทั้งซอย และบังเอิญเป็นจังหวะที่ผู้ว่าอภิรักษ์กำลังจะออกนโยบายต้านภาวะโลกร้อน เมื่อเรื่องถึงผู้ว่าอภิรักษ์ ก็มีคำสั่งให้ยกเลิกโครงการไปได้ เมื่อกลายเป็นซอยเงียบซอยเดียวในละแวกที่ยังร่มรื่นอยู่ ซอยเราจึงกลายเป็นที่ที่ผู้คนแถวนั้นเข็นรถเด็กจูงหมามาเดินเล่น นกมากมายหลายชนิดใช้เป็นแหล่งอาศัยหลบภัย เราไม่ได้มีแค่นกตีทอง นกขมิ้น นกอีวาบตั๊กแตน แต่ยังเคยมีนกแซวสวรรค์หางยาวแวะเวียนมาด้วย ภาพจาก: wikipedia.org (นกเเซวสวรรค์)   แต่มันก็เริ่มเปลี่ยนไปเมื่อคนเริ่มขายที่ให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ก็เป็นธรรมดาชีวิต ตลอดสิบปีที่ผ่านมาบ้านที่ยังคงอยู่ต้องเจอกับการก่อสร้างคอนโดรอบทิศ […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

นากเมืองกรุง

กรุงเทพของเรายังมีนากอาศัยอยู่ นากกรุงเทพเริ่มเป็นที่รู้จักเมื่อกลางปีที่แล้ว ช่วงที่สิงคโปร์โพสต์เรื่องนากกลางเมืองกันเยอะๆ เพราะนากเป็นสัตว์ผู้ล่าแห่งแหล่งน้ำ ที่ที่นากอยู่ได้จึงบ่งชี้ถึงระบบนิเวศอุดมสมบูรณ์

Read More
นิเวศในเมือง
read

Wild vs เถื่อน

ปัจจุบันคนไทยจำนวนไม่น้อยพูดสองภาษา ได้แก่ ไทยและอังกฤษ จนเราดึงเอาภาษาอังกฤษมาใช้ในการสื่อสารทั่วไปในสังคมแทนภาษาแขก โดยเฉพาะคำที่สื่อความคิดหรือภาวะที่เป็นนามธรรม ซึ่งเรามักจะไม่มีคำไทยโดยตรง

Read More
นิเวศในเมือง
read

ผัสสะภาวนา สัมผัสธรรมชาติ(2)

เมื่อเดือนที่แล้วเราพูดถึงแนวทางการฝึกฝนปลุกประสาทสัมผัสต่างๆ ในตัว เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์กับธรรมชาติ โดยยกระดับคุณภาพประสบการณ์ตรงให้ละเอียดขึ้น โยงใยได้ดีขึ้น ด้วยเทคนิคการปฏิบัติ “ผัสสะภาวนา” (sense meditation) มีฐานมาจากแนวทางปฏิบัติของชนเผ่าอาปาเช่ในอเมริกาเหนือ

Read More
นิเวศในเมือง
read

ผัสสะภาวนา สัมผัสธรรมชาติ(1)

ลองนึกถึงชั่วขณะหนึ่งในชีวิตที่คุณสงบนิ่ง แต่ตื่นตัวทั่วพร้อม รับรู้ว่าตนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับจักรวาลและธรรมชาติรอบตัว มันอาจเป็นคืนเดือนมืดเงียบสงัด ที่คุณบังเอิญตื่นมาเห็นดาวกระจายเต็มท้องฟ้า หรืออาจเป็นเหมือนเพื่อนคนหนึ่งของฉันที่จดจำภาวะนั้นในยามเย็นกลางทะเลทราย รู้สึกได้ถึงความปิติสุขไร้พรมแดน เป็นความปิติที่แผ่ซ่านกว้างใหญ่ไพศาล

Read More
นิเวศในเมือง
read

Rewilding ก้าวไปสู่ธรรมชาติในโลกยุคใหม่

เดือนที่แล้ว เราผจญกับการสูญเสียอย่างยิ่งใหญ่กันมากมาย หนึ่งในนั้นคือการตายหมู่ของกระเบนราหูน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในโลกกว่า 50 ตัว พร้อมกับสัตว์น้ำอื่นๆ จำนวนมากจากการปล่อยมลพิษลงน้ำแม่กลอง

Read More
นิเวศในเมือง
read

ไบโอฟิลเลีย สันดานไฝ่หาชีวภาพ

หลายอาชีพที่เราคุ้นเคยกำลังหายไปในโลกยุคใหม่หมุนเร็วติ้ว อย่าว่าแต่คนอายุ 50 ที่ตกงานเพราะโลกไม่ต้องการความถนัดเขาแล้ว รุ่นน้องอายุเพียง 30 ต้นๆ ก็เริ่มผวากลัวตกยุค ทั้งๆ ที่เขาโตมากับไอทีและใช้ได้คล่องแคล่ว แต่อาชีพที่กำลังสูญพันธ์เร็วที่สุดและผู้เขียนเสียดายมากที่สุด ได้แก่ อาชีพนักอนุกรมวิทาน คือนักจำแนกพันธ์สิ่งมีชีวิตต่างๆ ความสามารถในการจำแนกสารพัดสายพันธ์ชีวิต เคยเป็นความรู้สำคัญของมนุษย์ที่ต้องฝึกฝนเพื่อความอยู่รอดในยุคสมัยที่เราเก็บหาอาหารและพึ่งหยูกยาจากธรรมชาติ แม้ในสังคมเกษตรสมัยก่อนเราก็ยังอาศัยทักษะเหล่านี้อยู่ คนที่เก่งทางนี้เป็นพิเศษก็มักได้รับการยกย่อง เป็นพ่อหมอแม่หมอ บางทีก็ว่าเป็นแม่มด งานด้านนี้ถูกพัฒนาเป็นอาชีพจริงจังในยุคอาณานิคมสำรวจครอบครองทรัพยากร มีการอุดหนุนทุนทรัพย์สร้างสถาบันวิจัยและพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา ออกสำรวจ บุกป่าฝ่าดง เก็บตัวอย่าง จำแนกสายพันธุ์ชีวิตกลุ่มต่างๆ เป็นระบบวิทยาศาสตร์ ขยายความสนใจข้ามพรมแดนของกินของใช้ สร้างองค์ความรู้ความหลากหลายทางชีวภาพเป็นสารบบตำรา อังกฤษยิ่งโดดเด่นมาก นอกจากอาณานิคมพี่แกจะเยอะแยะกว้างไกลจนพระอาทิตย์ไม่เคยตกหายในดินแดนบริแตนแล้ว อังกฤษยังมีวัฒนธรรมนิยมธรรมชาติเป็นทุนเดิม จุดประกายมาจากการทำลายแหล่งธรรมชาติและพื้นที่ชนบทในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม แต่ปัจจุบันบุคลากรด้านนี้เริ่มขาดหาย คนรุ่นก่อนตายไป ก็ไม่มีรุ่นใหม่ความสามารถเทียบเท่ามาทดแทน คนเรียนเฉพาะทางด้านนี้ก็หายไป คอร์สเรียนก็หาย งานประจำด้านนี้แทบไม่มีเปิดรับ แม้จะมีคนเรียนทางนิเวศวิทยาอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ได้มีความเชี่ยวชาญในการจำแนกสายพันธุ์ อย่างผู้เขียนเป็นต้น ทั้งๆ ที่เรายังรู้จักนานาชีวิตในระบบนิเวศเขตร้อนเพียงน้อยนิด และแม้แต่นักนิเวศวิทยาเอง ก็ใช่จะหางานทำได้ง่าย ถ้าไม่ได้สังกัดสถาบันการศึกษา หรือองค์กรอนุรักษ์ทุนใหญ่ไม่กี่แห่ง มันเป็นปรากฎการณ์ที่สะท้อนความต้องการของสังคมปัจจุบัน วิถีชีวิตคนยุคใหม่ไม่ได้พึ่งพาองค์ความรู้ธรรมชาติโดยตรงในชีวิตประจำวัน อยากกินเห็ดก็ไปซื้อที่ซูเปอร์ ไม่ต้องหัดจำแนกเห็ดมีพิษเห็ดกินได้ เรารู้จักโลโก้แบรนด์สินค้าต่างๆ ดีกว่าพืชและสัตว์รอบตัว แม้แต่นกกระจอกบ้านธรรมดา […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

พาไมโตคอนเดรียไปอาบป่า

เราพูดถึงนานาชีวิตที่อาศัยร่วมอยู่ในร่างกายเราไปหลายครั้งในคอลัมน์นี้ เรารู้แล้วว่าร่างกายของเราไม่ได้เป็นเพียงแค่ของเรา แต่มีจุลชีพอาศัยอยู่ด้วยในจำนวนมากกว่าเซลล์ของเราเอง มีบทบาทช่วยขับเคลื่อนกลไกต่างๆ ของร่างกาย จนต้องถือว่าร่างกายเราไม่ใช่แค่ “ร่างกาย” แต่เป็นระบบนิเวศประเภทหนึ่ง แต่ความสัมพันธ์ของเรากับจุลชีพบางชนิดมันซับซ้อนแน่นแฟ้นยิ่งกว่าแค่การเป็นเพื่อนร่วมงานในระบบนิเวศ หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับไลเคนอยู่บ้าง ไลเคนเป็นสิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวของชีวิตสองชนิด ได้แก่ ราและสาหร่าย ประกอบร่างขึ้นมาเป็นชีวิตตัวใหม่ มันเป็นตัวอย่างคลาสสิคของความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยให้ประโยชน์กันและกัน (symbiosis) โดยราเป็นตัวสร้างบ้านห่อหุ้มสาหร่ายและสาหร่ายเป็นตัวทำอาหารมาแบ่งกัน แต่เอาเข้าจริง ชีวิตที่ประกอบไปด้วยเซลล์หลายเซลล์ทุกชนิดบนโลกใบนี้ก็วิวัฒนาการความสัมพันธ์แบบนั้นเช่นกัน รวมถึงตัวเราเองด้วย ในแง่นี้ เราก็เป็นเหมือนไลเคน หุ้นส่วนชีวิตแนบแน่นของเราคือไมโตคอนเดรีย (mitochondria) ครั้งหนึ่งนานหลายๆๆ ล้านปีมาแล้ว มันเป็นชีวิตจำพวกแบคทีเรียที่เคยอาศัยอยู่โดดๆ แต่วิวัฒนาการเข้ามาอาศัยอยู่ในเซลล์ของสัตว์มีเซลล์ประเภทที่มีนิวเคลียสและผนังหุ้มเซลล์ (ซึ่งก็คือสัตว์หลายเซลล์) ปัจจุบันมันอยู่ในเซลล์ของเราเกือบทุกประเภทยกเว้นในเลือด พวกพืชก็มีวิวัฒนาการคล้ายกัน คือเอาสาหร่ายเขียวแกมน้ำเงินเข้าไปอยู่ด้วย วิวัฒนาการกลายเป็นคลอโรพลาสในเซลล์มัน ทำหน้าที่สังเคราะห์แสง เรารู้ว่าไอ้ตัวเม็ดลายขีดยึกยือที่ดูเหมือนองค์ประกอบหนึ่งในเซลล์ของเรา แท้จริงแล้วเป็นญาติโบราณกับแบคทีเรียเพราะมันยังคงมีสารพันธุกรรมแบบเดียวกับแบคทีเรีย แตกต่างไปจากดีเอ็นเอของเราเอง มันอยู่ร่วมกับเราจนกลายมาเป็นองค์ประกอบอวัยวะเรา แต่มันยังคงมรดกดั้งเดิมของมันไว้อยู่ เช่นเดียวกับนางพจมานยืนหยัดในความเป็นพินิจนันต์ แม้จะแต่งงานร่วมหอครองบ้านทรายทองกับชายกลางสว่างวงศ์ก็ตาม ไมโตคอนเดรียมีอำนาจฤิทธิ์เดชในบ้านพอๆ กับนางพจมาน มันคือแม่หญิงตัวจริง และขอเน้นว่าการส่งต่อมรดกพันธุกรรมไมโตคอนเดรียจากรุ่นสู่รุ่นก็ส่งกันทางแม่ บ้านทรายทองจึงสืบทอดเป็นของพินิจนันต์ร่วมกับสว่างวงศ์ตลอดไป บทบาทของไมโตคอนเดรียคือเป็นเสมือนแบตเตอร์รี่พลังงานของเซลล์ มีหน้าที่แปรสสารอาหารให้เป็นพลังงานเคมีที่ร่างกายใช้ได้ โดยใช้ออกซิเจนเผาผลาญ มันจึงเป็นตัวควบคุมเมตาบอลิซั่มของเซลล์ เป็นแม่ครัวคุมเตา กระบวนการเผาผลาญมีผลข้างเคียงคือปล่อยอนุมูลอิสระออกมาด้วย อนุมูลอิสระมีประโยชน์ในการจัดการกับความเจ็บป่วยบางด้าน ซึ่งไม่สามารถอธิบายตรงนี้ได้หมด แต่สะสมมากๆ […]

Read More
นิเวศในเมือง
read

ประจุขั้วลบกับสุขภาพเป็นบวก

ใครๆ ก็รู้ว่าเราต้องการอากาศที่มีประจุไฟฟ้าขั้วลบเยอะๆ มันคืออะตอมหรือโมเลกุลออกซิเจนที่ได้อีเลคตรอนเพิ่มมาตัว ทำให้มีค่าประจุไฟฟ้าอ่อนๆ เป็นลบ จะเจอเยอะที่สุดเมื่อเกิดพายุฟ้าคะนอง หรือในพื้นที่ใกล้น้ำไหล น้ำตก คลื่นซัดชายฝั่ง ละอองน้ำถูกตบ ออกซิเจนจากเอชทูโอกระเด็นฟ่อง

Read More
นิเวศในเมือง
read

ไฟล้างป่าเจ้าเเม่กาลี

งานหลักของฉัน คือ ศึกษาพฤติกรรมไฟป่าตลอดฤดูแล้งและประเมินผลกระทบของไฟที่มีต่อสังคมพืชในระยะ ๑ ปี ความที่กลัวพลาด (เพราะไม่เคยทำมาก่อน) ฉันจึงเลือกวิธีปลอดภัย โดยวางแปลงถาวร ๔ แปลงเพื่อบันทึกความเปลี่ยนแปลงอย่างละเอียดของลักษณะเชื้อเพลิงและสังคมพืชพร้อมจุดไฟเผาเป็นระยะ ๆ นำมาเปรียบเทียบกัน ฉันขอสารภาพว่างานน่าเบื่อมาก

Read More
นิเวศในเมือง
read

สมอง-กลิ่น-ป่า

นักวิทยศาสตร์ชาวญี่ปุ่นพบว่าสาร น้ำมันหอมระเหยจากพืชเป็นสาเหตุสำคัญตัวหนึ่งที่ทำให้เรารู้สึกดีขึ้นเมื่อเดินในป่า หรือแม้แต่ดงไม้ในเมือง

Read More
นิเวศในเมือง
read

เรา ความสุข เเละจุลินทรีย์

เราพบว่าคนผอมสุขภาพดีมีสังคมจุลินทรีย์ในระบบย่อยอาหารที่หลากหลายอลังการ เปรียบได้ดั่งป่าฝนเขตร้อนแสนอุดมสมบูรณ์มีประสิทธิภาพสูง มีแบคทีเรียตัวย่อยสลายแป้งและกากใยได้ฉมัง ทอนลงเป็นโมเลกุลเล็กๆ ให้ร่างกายนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงได้เลย

Read More
นิเวศในเมือง
read

จากทีเร็กซ์สู่นกกินปลี: สุดยอดการปรับตัวเพื่ออยู่รอด

มันเหลือเชื่อน่าอัศจรรย์ที่จะคิดว่าสายพันธุ์ไดโนเสาร์เดินสองขากลุ่มเดียวกันกับทีเร็กซ์ สัตว์กินเนื้อขนาดใหญ่เทอะทะที่สุดที่โลกเคยมี จะวิวัฒนาการกลายเป็นนกกินปลีตัวจิ๋วขนาดเท่าแมลงภู่ กระพือปีกรัวๆ กินน้ำหวานดอกไม้ในปัจจุบัน

Read More
นิเวศในเมือง
read

เส้นใยรา ระบบอินเตอร์เน็ตธรรมชาติ

บนโลกของเราเองก็มีโครงข่ายการเชื่อมต่ออยู่หลายระบบ ระบบสำคัญที่ออกจะคล้ายหนัง “อวตาร” เป็นโครงข่ายใยที่มองเห็นได้ จับต้องได้ แต่มวลส่วนใหญ่ต้องดูใต้กล้องจุลทรรศน์ คือโครงข่ายเส้นใยมีชีวิตของรา ศัพท์ชีวะเรียกว่าไมซีเลียม (mycelium)

Read More
นิเวศในเมือง
read

จันทร์เสี้ยวกับมุมเบี้ยว

ฉันเริ่มสังเกตเห็นความแตกต่างของพระจันทร์และความซื่อบื้อของตนเองเมื่อไปเรียนที่อังกฤษ ความแตกต่างของทั้งภาษา ภูมิอากาศ และวัฒนธรรม เขย่าโลกส่วนตัวกระเจิดกระเจิง

Read More
นิเวศในเมือง
read

ป่าเมจิวิเศษเเห่งโตเกียว

เราคงจำจักรพรรดิหนุ่มน้อยในหนังเรื่องลาสต์ซามูไรกันได้ เด็กคนนั้นคือจักรพรรดิเมจิ ผู้นำพาญี่ปุ่นออกจากยุคขุนนางโบราณสู่ยุคฟื้นฟูใหม่เป็นประเทศอุตสาหกรรมพร้อมเทคโนโลยีก้าวหน้า ประคองญี่ปุ่นให้รอดพ้นจากการคุกคามอำนาจตะวันตก จนกลายเป็นประเทศเข้มแข็ง ท่านเป็นสะพานเชื่อมจากญี่ปุ่นเก่าสู่ญี่ปุ่นใหม่ เมื่อจักรพรรดิสวรรคตลงในปี 1912 และรัฐบาลตัดสินใจสร้างสุสานให้ที่กรุงเกียวโต ประชาชนจึงเรียกร้องให้สร้างศาลเพื่อสักการะบูชาในกรุงโตเกียว

Read More
นิเวศในเมือง
read

ปลากระโห้ ธงชัยของกรุงเทพ

ปลากระโห้เป็นปลาแม่น้ำใหญ่สายหลัก อาศัยตามวังน้ำลึก รายงานขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) ระบุว่าเรายังไม่มีความรู้เรื่องวงจรชีวิตและพฤติกรรมในธรรมชาติของมันดีมากนัก แต่เข้าใจว่ามีการย้ายเข้าไปตามแหล่งน้ำข้างเคียงวังน้ำแม่น้ำสายหลักเพื่อวางไข่ และพบตัวอ่อนอาศัยหากินตามพื้นที่ชุ่มน้ำในที่ราบลุ่มที่เชื่อมกับแม่น้ำใหญ่หรือคลองสาขา

Read More
นิเวศในเมือง
read

ทุ่งใหญ่ ป่าในตำนาน

ทุ่งใหญ่เป็นที่ที่ทหารระดับบิ๊กเผด็จการพร้อมดาวยั่วมาลักลอบล่าสัตว์ แล้วฮอขนซากสัตว์ตก กลายเป็นข่าวใหญ่ จนเป็นฉนวนไปสู่เหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 พลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์ไทย สร้างปรากฎการณ์การลุกขึ้นของชนชั้นกลางเป็นครั้งแรก

Read More
นิเวศในเมือง
read

ยีสต์อิสระในทุ่งขนมปัง

ยีสต์เป็นราเซลล์เดียวเชื้อสายโบราณ อาศัยอยู่ทั่วไปตามพื้นผิวผลไม้พืชผักหัวมัน มันทนภาวะแล้งได้ดี จึงเก็บมันให้จำศีลในสภาพแห้งๆ ได้ แต่พอได้น้ำ มันก็ตื่นและเริ่มหากิน

Read More
นิเวศในเมือง
read

ถึงเวลามีกฎหมายทรัสต์ที่ดินหรือยัง?

น้องชายของผู้เขียน นพ.รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ หรือหมอหม่อง มีความตั้งใจมานานแล้วว่าอยากจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำเป็นแหล่งอนุรักษ์นก มองหาอยู่นานจนมาเจอพื้นที่ราบน้ำท่วมถึง 80 ไร่ที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย อยู่บนเส้นทางอพยพของนก ชาวบ้านบอกขาย จึงตัดสินใจซื้อ และฟื้นฟูปรับสภาพนาเก่าให้กลายเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่เหมาะสมกับธรรมชาติดั้งเดิม ตั้งชื่อว่า “พื้นที่อนุรักษ์นกน้ำคำ”

Read More
นิเวศในเมือง
read

หน้าที่พลเมือง

เมื่อเดือนที่แล้วเกิดเหตุการณ์เล็กๆ เรื่องหนึ่งที่สวนเบญจกิติ สวนนี้แต่ก่อนเป็นพื้นที่บึงขนาดใหญ่ของโรงงานยาสูบ ติดกับศูนย์ประชุมสิริกิต เมื่อนำมาปรับปรุงเป็นสวนสาธารณะก็ออกแบบการใช้สวนรอบๆ บึง

Read More
นิเวศในเมือง
read

เกมส์วิวัฒนาการ

เมื่อพูดถึงเกมกระดาน คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงเกมเศรษฐี (Monopoly) แต่ในวงการเกมกระดานแล้ว เกมเศรษฐีมิได้อยู่ในสายตา ถือเป็นเกมบื้อๆ ไม่มีชั้นเชิง ดีแต่พึ่งโชคทอดลูกเต๋า

Read More
นิเวศในเมือง
read

ชีวะตะลุมบอน ประวัติศาสตร์ที่คุ้งบางกะเจ้า

ความสำคัญของงานนี้คือการรวมตัวของนักวิทยาศาสตร์และอาสาสมัครจากหลากหลายองค์กรและสถาบัน มีมูลนิธิโลกสีเขียวเป็นเจ๊ดันประสานงานจัดการให้เกิดขึ้น โดยใช้ทุนส่วนหนึ่งจาก สสส.ประกอบกับทุนของมูลนิธิฯ เอง แต่ทุนส่วนใหญ่มาจากบุคคลทั้งหมดที่เข้าร่วมลงแรงลงเวลา

Read More
นิเวศในเมือง
read

เมืองกินได้ฉบับ Gen F

ผู้เขียนเป็นคนรุ่นเก็บพืชผักของกินริมทาง มันไม่ได้เป็นเพียงพฤติกรรมที่ติดมาจากแม่ ผู้เป็นนักพฤษศาสตร์มหาลัยป่าหลังบ้าน แต่สมัยผู้เขียนเป็นเด็กมันเป็นเรื่องปกติที่รถเมล์ต่างจังหวัดจะจอดให้แม่บ้านที่ร้องโหวกแหวกเรียกรถหยุด ได้ลงไปเก็บผักบุ้ง เก็บเห็ดโคน

Read More
นิเวศในเมือง
read

เมืองดาว เทรนด์ใหม่คู่เมืองคาร์บอนต่ำ

สิ่งที่บดบังท้องฟ้าตลอดชั่วชีวิต 6-7 ปีของเด็กน้อยคือหมอกควันจากมลพิษ

แต่เด็กเมืองอเมริกันถึง 80% ก็แทบไม่เคยเห็นดาวเช่นกัน

เมื่อปี ค.ศ.1994 เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงในคาลิฟอร์เนียจนไฟดับทั้งแอลเอ ชาวเมืองจำนวนไม่น้อยโทรสายด่วน 911 แจ้งข่าวเห็น “เมฆยักษ์ประหลาดเรืองแสงพาดบนท้องฟ้า”

Read More